จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2562

เลี้ยงกบ กระชังบก ต้นทุนต่ำ เสริมรายได้หลักหมื่นต่อเดือน เบญจวรรณฟาร์ม




เลี้ยงกบ กระชังบก ต้นทุนต่ำ เสริมรายได้หลักหมื่นต่อเดือน เบญจวรรณฟาร์มกบ 2 เดือนในกระชังบก
กบอบอ๊บ อาชีพเสริมสร้างรายได้ ถึงแม้ในฤดูฝนผลผลิตกบธรรมชาติจะออกมา แต่การเพาะเลี้ยงก็ยังคงต้องดำเนินไป จะเสียเปรียบหน่อยก็เป็นเพียงราคาที่ต่ำลง แต่เป็นเพราะเมนูกบ มีความต้องการบริโภคการเพาะเลี้ยงจึงต้องดำเนินควบคู่ไป

หลายๆ คนให้ความสนใจการเพาะเลี้ยงกบ มือใหม่เกิดขึ้นเยอะ ถือเป็นอาชีพเสริม ทดสอบความสามารถ การเลี้ยงในบ่อปูน การลงทุนสร้างบ่อค่อนข้างสูง ใช้พื้นที่เยอะพอสมควร แล้วถ้าไม่ใช่บ่อปูน เลี้ยงรูปแบบไหนได้บ้าง นี่คือคำถามของการเลี้ยงที่ต้องการลดต้นทุน
ยิ้มได้ เพราะการเลี้ยงกบในกระชังบก
นิตยสารสัตว์น้ำได้เสนอรูปแบบการเลี้ยงกบไปบ้างแล้ว ในฉบับนี้ขอแนะนำการเลี้ยงกบในกระชังบกของ คุณจุฑามาศ เบญจวรรณ ผู้ประดิษฐ์กระชังบกเลี้ยงกบเองใน อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี
คุณจุฑามาศ กล่าวว่า ตนเองมีอาชีพทำนาและทำสวนมะม่วง เมื่อปี 2556 สนใจอาชีพการเลี้ยงกบเพื่อเสริมรายได้ จึงใช้กระชังแขวนตามร่องสวน ขนาด 2×3 เมตร ปล่อยกบลงเลี้ยงกระชังละ 1,000 ตัว เลี้ยงรูปแบบนี้อยู่ 2 ปี ทนไม่ไหวกับปัญหาตัวเงินตัวทองเข้ามารบกวนกบที่เลี้ยงในกระชัง และสังเกตเห็นฟาร์มกบละแวกใกล้บ้านทำกระชังบกขึ้นมาเพาะพันธุ์กบ ตนจึงนำมาดัดแปลงเย็บกระชังบกให้มีมุม 4 มุม ให้คล้ายกับกระชังเลี้ยงปลา เพื่อให้ง่ายต่อการทำงาน
การเลี้ยงกบที่ใช้น้ำน้อย
ข้อดีของการเลี้ยงกบในกระชังบก
กบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ กระชังบกถือเป็นการดัดแปลงจากวิธีเดิมที่นิยมเลี้ยงกัน ก็คือ รูปแบบการเลี้ยงในกระชัง ข้อดีของการเลี้ยงกบในกระชังร่องสวน กบจะโตดี ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมธรรมชาติจากปัญหากวนใจ ซึ่งต้องยกพลขึ้นบก โดยการใช้พลาสติกรองก้นกระชังความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร ล้อมรอบกระชังด้วยตาข่ายมุ้งเขียวความสูง 100 เซนติเมตร
รูปแบบนี้ถือเป็นรูปแบบการเลี้ยงตามความสะดวก เพราะขนาดกระชังสามารถกำหนดได้ตามพื้นที่ที่ต้องการ เพราะกบเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ การทำสโลบพื้นลาดเอียงจะเป็นการสร้างพื้นบกและพื้นน้ำคนละฟากฝั่งได้ เป็นรูปแบบที่ใช้น้ำน้อย ประหยัดน้ำ ส่วนการ เปลี่ยนถ่ายน้ำ สะดวก ทำได้ง่าย เพียงแค่ปลดเชือกน้ำก็จะไหลออกมา
การเพาะพันธุ์กบในกระชังบก
การเพาะพันธุ์ส่วนมากแล้วจะใช้รูปแบบการเพาะในบ่อปูนที่ได้เปรียบในเรื่องของการจัดการ ดูแล แต่สำหรับกระชังบกก็ทำได้เช่นกัน คุณจุฑามาศจะใช้กระชังขนาด 2×5 เพาะพันธุ์กบ 5 คู่ โดยพ่อแม่พันธุ์ที่จะนำมาเพาะจะคัดเลือกกบที่มีรูปร่างสวย สมบูรณ์ ที่เลี้ยงได้ในแต่ละรอบ มีคนแยกออกมาเลี้ยงให้ได้อายุ 1 ปี ขึ้นไป มาปล่อยในช่วงเย็น ให้ผสมพันธุ์กันเอง โดยไม่ต้องใช้ฮอร์โมนกระตุ้นแต่อย่างไร อย่างในหน้าฝนการเพาะพันธุ์จะทำได้ง่าย เพราะถือเป็นฤดูกาลของกบอย่างแท้จริง
เช้าวันรุ่งขึ้นก็ทำการแยกพ่อแม่พันธุ์ออกจากไข่ ไข่จะใช้เวลา 24 ชั่วโมง ฟักออกมาเป็นตัว
อาหารที่มใช้ในการเลี้ยงกบ
อาหารสำหรับลูกอ๊อด
ลูกอ๊อดขนาดเล็ก การจะให้กินอาหารเม็ดติดปัญหาในเรื่องขนาดที่ใหญ่กว่าปาก คุณจุฑามาศเลือกใช้อาหารไฮเกรดผสมกับน้ำ ใช้อาหารอ่อนตัว แล้วนำมาปั้นเป็นก้อน ใช้อาหารปั้นก้อนเลี้ยงลูกอ๊อด 1 สัปดาห์ แล้วจึงปรับเปลี่ยนไปเป็นการหว่านอาหารเม็ด โดยเลือกใช้ อาหารกบของ บริษัทกรุงไทยอาหาร จำกัด (มหาชน) ให้อาหารวันละ 2 มื้อ ใช้เวลาอนุบาลลูกอ๊อดไปเป็นลูกกบ 30 วัน สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ กระชังขนาด 2×5 ได้ผลผลิตออกจำหน่าย 2,000-3,000 ตัว จำหน่ายเดือนละ 2-3 หมื่นตัว
รูปแบบการเลี้ยงกบในกระชังบก
จากคุณสมบัติที่ดี ทำให้รูปแบบการเลี้ยงกบ วิธีการนี้มีความน่าสนใจสำหรับคนเลี้ยงกบมือใหม่ ให้ได้ทดลองเลี้ยง ขนาดกระชัง ที่สามารถเลี้ยงได้ จะเลี้ยงที่ขนาด 2×3 เมตร ปล่อยกบได้ 1,000 ตัว กระชังบกขนาด 2×4 เมตร ปล่อยกบได้ 1,500 ตัว และกระชังขนาด 2×5 เมตร ปล่อยลูกได้ 2,000 ตัว สามารถเลี้ยงได้จนกบโต
อาหารกบ จะให้วันละ 2 มื้อ เดินให้รอบเดียว ในปริมาณที่กบกินอิ่ม ไม่เน้นการให้อาหารเยอะ จะทำให้กบท้องอืด อัตรารอดจะต่ำ
การเปลี่ยนถ่ายน้ำ จะทำวันเว้นวัน โดยการใช้สายยางฉีดล้างทำความสะอาดของเสีย
การคัดไซส์ การคัดไซส์ใน 1 กระชัง จะคัด 3 ไซส์ เล็ก, กลาง, ใหญ่ จะคัดกบอายุ 1-2 เดือน เพื่อลดปัญหาการแตกไซส์ กัดกินกันเอง เป็นการเพิ่มอัตรารอด
การป้องกันโรค การเลี้ยงกบในกระชังบกจะง่ายต่อการทำความสะอาด ไม่แตกต่างจากการเลี้ยงในบ่อปูน เรื่องของการเกิดโรคแทบจะไม่เป็นปัญหา ที่จะมีบ้างก็เป็นการกัดกินกันเอง กบหนาแน่นจนเกินไป ทำให้กบตาย และถ้ากบกินอาหารมากเกินไป ท้องอืด จะพบการตายบ้าง แต่ไม่มาก เพราะสามารถควบคุมได้ กระชัง/กระชัง
ผลผลิต กระชังขนาด 2×5 ปล่อยลูกกบ 2,000-2,500 ตัว จะได้ผลผลิต 150-200 กิโลกรัม ใช้ระยะเวลาการเลี้ยง 3 เดือนครึ่ง สามารถทยอยจำหน่ายผลผลิตออกได้ สำหรับตลาดภายในประเทศ จะบริโภคกบไซส์ 4-5 ตัว ส่วนตลาดต่างประเทศที่พ่อค้ามารับไปส่ง จะบริโภคกบขนาดไม่ใหญ่มาก อยู่ที่ไซส์ 6-8 ตัว/ก.ก.
กบ 2 เดือนในกระชังบก
กบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ปัจจุบันมีการพัฒนาไขว้สายพันธุ์ เพื่อให้กบใช้ระยะเวลาการเลี้ยงสั้นลงมีการเจริญเติบโตที่ดี ตลาดผู้บริโภค ยังมีความต้องการสูงสามารถเลี้ยงได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงที่มีกำไรจะเป็นช่วงต้นปี ประมาณเดือน ม.ค-พ.ค ราคาจะขยับสูงขึ้นเกษตรกรที่สนใจ ต้องมีการวางแผนและศึกษาตลาดให้ดีก่อนลงมือเลี้ยง
รูปแบบการเลี้ยงกบในกระชังบกถือเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับเกษตรกรที่ต้องการสร้างอาชีพเสริม ในพื้นที่จำกัดสามารถเลือกขนาดกระชังบกได้ตามความเหมาะสม เบญจวรรณ ฟาร์มกบกระชังบก จำหน่ายกระชังบกเย็บมือตามขนาดต้องการ และลูกกบพร้อมลงกระชัง เกษตรกรที่สนใจสามารถเข้าไปเรียนรู้รูปแบบการเลี้ยงกบได้ที่ เบญจวรรณ ฟาร์มกบกระชังบก 1/2 ม.3 ต.หัวเขา อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี หรือโทร.09-8450-5480 หรือทาง www.facebook.com/ben.benjawan.
tags: การเลี้ยงกบ วิธีเลี้ยงกบ เลี้ยงกบ วิธีเลี้ยงกบในกระชัง เลี้ยงกบ กระชังบก เลี้ยงกบขาย วิธีเลี้ยงกบขาย เบญจวรรณฟาร์ม การเลี้ยงกบ วิธีเลี้ยงกบ เลี้ยงกบ


สูตรสำเร็จเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน…สร้างรายได้ปีละล้าน!!

สูตรสำเร็จเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน…สร้างรายได้ปีละล้าน!!

    “เกษตรกร” จัดเป็นอาชีพนักผลิตที่ทรงภูมิควรแก่การยกย่องสรรเสริญ เพราะเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบด้านอาหารรายใหญ่ จึงได้ชื่อว่ากระดูกสันหลังของชาติ แต่การจะเป็นกระดูกสันหลังที่แข็งแกร่ง จำเป็นจะต้องได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน อันจะนำไปสู่การล่มสลายกลายเป็นคนง่อยหรืออัมพาต จนสุดท้ายต้องออกมาปิดถนน เรียกร้องหาความยุติธรรมจากผู้ถืออำนาจรัฐ เมื่อบทเรียนก็มีให้เห็นปีแล้วปีเล่า ทั้งข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ไฉนเลยเกษตรกรจึงไม่หลาบจำ ทำไมไม่หันมาสร้างภูมิคุ้มกันโดยการพึ่งพาตัวเอง ไม่หวังพึ่งรัฐ และให้ความสำคัญกับการเร่งสร้างคุณภาพมากกว่าการผลิตที่เน้นปริมาณ เพื่อสร้างอำนาจการต่อรอง และเลือกขายได้
ดังตัวอย่าง คุณการีม เหมศิริ บ้านเลขที่ 11/13 หมู่ที่ 6 แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร (โทร. 08-9679-6318) เกษตรกรคนเก่งแห่งเมืองหลวง ที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน หยัดยืนด้วยลำแข้งของตัวเอง สร้างรายได้ปีละ 1.6-1.7 ล้านบาทเลยทีเดียว
เขตหนองจอกอยู่ในส่วนกรุงเทพฯ ชั้นนอก ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ยังคงยึดอาชีพการทำเกษตร ดังนั้นสองข้างทางจึงเต็มไปด้วยแมกไม้ และนาข้าวที่เขียวขจี ประหนึ่งยืนอยู่ท่ามกลางชุมชนชนบทไกลปืนเที่ยง หลายชุมชนที่นี่ยังคงยึดอาชีพเกษตรในการหล่อเลี้ยงชีวิต และเกษตรกรที่นี่อาจได้เปรียบตรงที่เป็นแหล่งผลิตที่อยู่ใกล้กับตลาดผู้บริโภคแหล่งใหญ่ คือกรุงเทพฯชั้นใน สินค้าเกษตรหลากหลายชนิดจึงมีพ่อค้าแม้ค้ามาจับจองตั้งแต่ยังไม่ถึงวันเก็บเกี่ยว รวมถึงปลาดุกในบ่อของการีมด้วย เพียงแค่เอ่ยปากว่า “จะขาย” พ่อค้าแม่ขายต่างก็มาเข้าคิว นำอวนและลูกจ้างมาจับปลาไปจากบ่อพร้อมกับจ่ายเงินสดเป็นปึก ๆ เป็นค่าตอบแทน ให้การีมได้แย้มยิ้มหน้าบาน
คุณการีม ให้ข้อมูลว่า ก่อนหน้านี้ตัวเองไปทำงานอยู่ที่ประเทศซาอุดิอาระเบียในตำแหล่งโอเปอเรเตอร์ เมื่อถึงกำหนดลาพักร้อนจึงลากลับมาเมืองไทย พอกลับมาถึงบ้านมีความรู้สึกว่าตนเองนั่ง ๆ นอน ๆ อยู่เฉย ๆ ไม่ได้ จึงไปช่วยงานน้าชายซึ่งเลี้ยงปลาดุกอยู่
12771909_964050536965873_8548435801028705836_o
“ตลอดระยะเวลา 1 เดือนที่กลับมาพักที่บ้านก็คลุกคลีอยู่ในบ่อปลาดุกจนกระทั่งเกิดความคิดว่า หลังจากหมดสัญญาที่ไปทำงานยังซาอุฯ จะกลับมายึดอาชีพเกษตร เพราะจะได้อยู่กับครอบครัว อีกอย่างหากเรารู้จักการจัดการและดูแลกิจการให้ดี ๆ การทำเกษตรในบ้านราก็มีรายได้ไม่ต่างจากการไปทำงานที่เมืองนอกเลย”
ภายหลังจากหมดสิ้นสัญญาจ้างงานจากประเทศซาอุดิอาระเบีย การีมก็กลับมาสร้างฝันของตนเองให้เป็นจริง โดยนำเงินที่เก็บสะสมได้จากการทำงานไปซื้อที่ดิน เพื่อขุดบ่อเลี้ยงปลา และพื้นที่นอกเหนือจากบ่อ ก็ได้ปลูกผลหมากรากไม้ เช่น มะม่วง มะยงชิด กล้วย ขนุน ฯลฯ ไว้อย่างหลากหลาย
 “ตอนแรกผมขุดเพียงบ่อเดียว พื้นที่ไม่กว้างมากเพราะอยากทดลองเลี้ยงดูก่อน โดยในชุดแรกปล่อยลูกปลาทั้งหมด 1 แสนตัว และใช้อาหารคืออาหารเม็ด ซึ่งผลปรากฏว่าการใช้อาหารเม็ดนั้นต้นทุนจะสูงมากและอัตราการแลกเนื้อจะได้น้อยกว่าอาหารสด ภายหลังจากจับปลารอบแรกเสร็จสิ้น ผมก็มานั่งคิดว่าจะทำอย่างไรถึงจะทำให้ต้นทุนการลี้ยงปลาดุกของเราถูกลง และได้ปลาตัวโต น้ำหนักดี ซึ่งตอนนั้นประจวบเหมาะกับทาง บ.บริษัทซีพีได้เปิดประมูลโครงไก่ ผมก็ไปประมูลเพื่อนำมาบดเป็นอาหารให้ปลาดุก และโชคดีที่ผมผ่านการประมูล ทำให้ไม่ต้องกังวลในเรื่องของอาหารปลาอีกต่อไป”
  ปัจจุบันการีมได้ขยายบ่อเลี้ยงปลาทั้งหมดเป็นจำนวน 5 บ่อ รวมพื้นที่การเลี้ยงปลาทั้งหมด 14 ไร่ โดยการีมอธิบายการเลี้ยงปลาดุกให้ฟังอย่างละเอียดว่า ภายหลังจากการขุดบ่อเรียบร้อยแล้ว (บ่อใหม่) หรือจับปลาออกจากบ่อเรียบร้อยแล้ว(บ่อเก่า) เราจะต้องตากดินอย่างน้อย 1 เดือน จากนั้นจึงผันน้ำเข้าให้เต็มบ่อแล้วจึงเติมปูนขาว 12 ลูก และ ซีโอไรท์ 5 ลูก (ขนาดบ่อ 4 ไร่ ลึก 1.5 เมตร) และวัดค่า pH โดยค่า pH ที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของปลาดุกคือ 4.5 จากนั้นจึงปล่อยลูกปลาดุกลงในบ่อ 1 แสนตัว โดยการเลี้ยงนั้น ในระยะ 1 เดือนแรกจะใช้อาหารเม็ดสลับกับอาหารสด (โครงไก่บดละเอียด) และภายหลังจากเดือนที่สองเป็นต้นไปจะให้อาหารสดเพียงอย่างเดียว โดยปลา 1 แสนตัว หากเป็นปลาอายุตั้งแต่ 2-5 เดือนจะกินอาหารวันละ 500 กิโลกรัม คิดเป็นต้นทุนค่าอาหารบ่อละ 3,000 บาท รวมจำนวน 5 บ่อคิดเป็นต้นทุนค่าอาหารวันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ในการเลี้ยงปลาดุกนั้นจะต้องใช้เวลาในการเลี้ยง 5 เดือนจึงจะสามารถจับขายได้ โดยปลาดุก 1 บ่อ (1 แสนตัว) จะให้น้ำหนักประมาณ 15 ตัน (1,5000 กิโลกรัม) โดยราคารับซื้อหน้าบ่อจากพ่อค้าในปัจจุบันอยู่ที่กิโลกรัมละ 46 บาท เมื่อหักลบต้นทุนการผลิตแล้ว ในการเลี้ยงปลาแต่ละรอบจะได้กำไรประมาณ 160,000 -170,000 บาท และใน 1 ปีจะสามารถเลี้ยงได้ 2 รอบ/บ่อ
คุณการีมยังอธิบายอีกว่า อุปสรรคในการเลี้ยงปลาดุกก็คือต้นทุนสูง ถ้าเราจัดการบริหารไม่ดีก็จะไม่มีกำไรเกิดขึ้น ในบางรายแม้ปลาดุกจะได้ราคาดีแต่ระบบการจัดการไม่ดีก็มีเหตุให้ต้องหยุดเลี้ยงไปก็มี เนื่องจากมองไม่เห็นกำไร นอกจากอุปสรรคในเรื่องต้นทุนการผลิตแล้วในเรื่องของโรคก็สำคัญ โดยเฉพาะเมื่อเกิดโรคดีซ่าน ซึ่งจะเป็นมากในช่วงหน้าหนาว โดยลักษณะอาการคือปากเปื่อย ตัวเปื่อย หางเปื่อย โรคชนิดนี้หากเป็นแล้วจะเป็นโรคร้ายแรงและทำให้ปลาตายยกบ่อได้ วิธีป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรคนี้คือหมั่นสังเกตน้ำไม่ให้น้ำเสีย คือมีสีเขียวเข้มจัดเกินไป หากน้ำมีสีเข้มจัดควรผันน้ำใหม่เข้ามาเพิ่มในบ่อและเติมซีโอไรท์เพื่อปรับคุณภาพน้ำลงไปประมาณ 10 ลูก
   และหากสังเกตเห็นว่าปลากำลังเริ่มเป็นโรคให้ใช้ยา ชื่อสามัญ โคไมซิน คลุกกับอาหารเม็ดหว่านให้ปลากินจนปลาหายขาดจากโรค จึงให้อาหารสดตามปกติ นอกจากนี้อุปสรรคอีกอย่างคือในเรื่องของภัยธรรมชาติ เช่นปี 2554 เกิดน้ำท่วมใหญ่ ปลาในบ่อก็ออกไปหมดเช่นกัน ในรอบการเลี้ยงรอบนั้นขาดทุนกว่า 3 ล้านบาท แต่ก็ยังโชคดีที่ธนาคารได้พักชำระหนี้ให้ระยะหนึ่ง จึงทำให้ผมสามารถฟื้นตัวได้อีกครั้ง และอีกปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่ผมอยากฝากไว้เป็นแนวคิดกับคนที่คิดจะเลี้ยงปลาก็คือ “ลูกจ้าง” ต้องเป็นคนที่ไว้ใจได้ ไม่เช่นนั้นตกกลางคืนคนงานเหล่านี้ก็จะขโมยปลาเราไปขาย ซึ่งผมก็เคยประสบเหตุดังกล่าวมาเช่นกัน จึงทำให้ปัจจุบันต้องลงมาทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ถึงจะเหนื่อยหน่อย ถ้ามันคุ้มค่าเหนื่อยก็ต้องลงมือทำด้วยตัวเองครับดีกว่าปล่อยให้เขามาโกงเรา” คุณการีม กล่าวทิ้งท้าย


วิธีการปลูกกล้วยหอมทอง ง่ายๆรายได้งาม





วิธีการปลูกกล้วยหอมทอง ง่ายๆรายได้งาม
การเตรียมหน่อกล้วยหอมทองสำหรับปลูกให้มีอัตรารอดสูง
การคัดเลือกหน่อพันธุ์ปลูก :
          เป็นสิ่งสำคัญต่อผลผลิตที่จะได้รับในอนาคตหน่อพันธุ์ที่อ่อนหรือแก่จนเกินไปจะทำให้กล้วยตกเครือไม่พร้อมกัน การเลือกหน่อพันธุ์ปลูก ควรเป็นหน่อใบแคบหรือหน่อดาบเป็นหน่ออ่อนที่มีใบอยู่ประมาณ 3-4 ใบ สังเกตุได้จากใบที่เรียวเล็ก หน่อลักษณะเช่น นี้มักจะเกิดอยู่กับโคนต้นเดิมและมีขนาดอวบสมบูรณ์เหมาะสำหรับที่จะเลือกไปเป็นหน่อพันธุ์ปลูกอย่างยิ่ง
วิธีการแยกหน่อกล้วย : 
          ขุดหน่อกล้วยโดยใช้ชะแลงเหล็ก ตัดหน่อให้แยกออกจากกอเดิมก่อนแล้วใช้จอบขุดให้รอบเพื่อให้รากขาด จากนั้นให้ใช้ชะแลงงัดหน่อกล้วยขึ้นมาวิธีนี้จะทำให้หน่อกล้วยที่ได้ไม่ช้ำและหลุดออกง่ายเมื่อขุดหน่อได้แล้วให้ใช้มีดคมๆ ปาดรากกล้วยที่ยาวออกให้เหลือรากติดเหง้ากล้วยประมาณ 1 นิ้วเป็นพอ
วิธีการปลูกกล้วยหอมทอง
ภาพ www.vigotech.co.th
ระยะปลูก : 
          ใช้ระยะปลูก 3 x 3 เมตร จะปลูกกล้วยได้ 177 ต้นในพื้นที่ 1 ไร่
การเตรียมดินปลูก : 
          ดินที่จะปลูกกล้วยหอมทองจะร่วนซุย ควรไถด้วยผานเจ็ด 2 ครั้งหรือจะใช้รถไถเดินตามไถครั้งแรก แล้วตากหน้าดินไว้ 7-10 วัน เพื่อกำจัดวัชพืชและศัตรูพืชที่ตกค้างอยู่ในดิน หากมีวัชพืชงอกขึ้นมาหลังจากนั้นให้ไถกลบอีกครั้งเพื่อเป็นการกำจัดวัชพืช ให้ลดน้อยลง ดินตรงไหนที่เป็นแอ่งควรปรับดินให้มีความลาดเทเพื่อป้องกันมิให้น้ำท่วมขังในช่วงหน้าฝน
ฤดูกาลปลูกที่เหมาะสม :
          ปกติกล้วยหอมทองจะปลูกได้ตลอดปี ถ้ามีน้ำ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมปลูกกันมากในช่วงต้นเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน
วิธีปลูกกล้วยหอมทอง :
         – หลังจากวัดระยะปลูกและปักหลักเรียบร้อยแล้ว
         – ขุดหลุมลึกประมาณ 50 ซม. หรือ1 ศอก กว้างประมาณ 1 ศอก
         – นำหน่อกล้วยที่ตัดรากออกลงหลุม แล้วกลบดินเหยียบดินให้แน่น เมื่อกลบดินได้ครึ่งหลุม เพื่อไม่ให้ต้นกล้วยโยกคลอนหลังจากนั้นกลบดินให้เต็มหลุมแต่ไม่ต้องกดดิน
         – นำเศษพืชมาคลุมโคนเพื่อรักษาความชื้น
การดูแลรักษากล้วยหอมทองให้ได้ผลผลิตดี 
การตัดใบกล้วยหลังจากปลูก :
          ถ้าเป็นหน่อใบแคบหลังจากปลูกแล้วไม่จำเป็นต้องตัดใบทิ้งแต่ถ้าเป็นหน่อที่เคยปาดเฉียงมาก่อนควรจะมีการปาดเฉียงลำต้นใหม่เพื่อที่กล้วยจะได้แตกใบใหม่ที่แข็งแรงขึ้น
การกำจัดวัชพืชในแปลงกล้วย :
          ถ้ามีการตัดหญ้าและพรวนดินในแปลงกล้วยตลอดเวลาจะทำให้ได้กล้วยเครือใหญ่ และจำนวนหวีมากขึ้น
การให้ปุ๋ยกล้วยหอมทอง : 
         ควรให้ทั้งปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีควบคู่กันไปทั้งสองอย่างปริมาณจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของดินสำหรับปุ๋ยเคมีสูตรที่เหมาะสมสำหรับกล้วยหอมทองคือ 21-0-0 จำนวน ใช้ในอัตรา 50 กก.ต่อไร่ หรือจะใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 ในอัตรา 50 กก.ต่อไร่โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง
การให้น้ำกล้วยหอมทอง :
          การให้น้ำกล้วยหอมทองจะให้แค่พอชุ่ม ในช่วงที่ปลูกใหม่ ๆและขณะที่กล้วยหอมตั้งตัวและกำลังติดปลี ติดผลดีแล้วไม่จำเป็นต้องให้น้ำเป็นประจำทุกวันเหมือนพืชอื่น
การตัดแต่งหน่อและใบกล้วยหอมทอง :
          1. การแต่งหน่อกล้วยหากปลูกกล้วยต้นเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายนประมาณเดือนมิถุนายนกล้วยจะแตกหน่อตามขึ้นมาประมาณ 4-7 หน่อต่อกอเมื่อหน่อตามมีใบคลี่แล้ว ควรทำการปาดยอดทิ้ง โดยปาดในแนวเฉียงขึ้นกะความยาวของหน่อที่จะเหลือไว้หลังจากปาดให้สูงจากพื้นดินขึ้นมาประมาณ 20 นิ้วจากนั้นทำการปาดหน่อให้เฉียงกลับด้าน(ทิศตรงข้ามกับการปาดครั้งแรก) ทุกๆ 15 วันจะทำให้โคนหน่อกล้วยขยายใหญ่ขึ้นเหมาะที่จะนำไปปลูก
          2. การตัดแต่งใบกล้วยขณะที่มีการแต่งหน่อ ควรทำการตัดแต่งใบกล้วยควบคู่ไปด้วยและควรตัดแต่งใบกล้วยไปจนกว่ากล้วยจะตกเครือ การตัดให้เหลือใบกล้วยไว้กับต้น 10-20 ใบต่อต้น ตัดด้วยมีดขอให้ชิดต้นกล้วยอย่าให้เหลือก้านกล้วยยื่นยาวออกมาเพราะส่วนที่เหลือยื่นยาวไว้นั้นจะเหี่ยวแล้วรัดลำต้นทำให้ลำต้นส่วนกลางขยายได้ไม่มากเท่าที่ควร
ระยะเวลาในการให้ผลผลิตของกล้วยหอมทอง
ประมาณ 10 เดือนหลังปลูก :
          กล้วยจะเริ่มแทงปลีออกมา *การที่กล้วยจะออกปลีช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของหน่อกล้วยว่ามีความแข็งแรงสมบูรณ์ดีหรือไม่ รวมทั้งการดูแลรักษาเมื่อกล้วยแทงปลีจนสุด(กล้วยหวีตีนเต่าโผล่กล้วยตีนเต่าหมายถึงกล้วยหวีสุดท้ายที่มีลักษณะไม่สมบูรณ์) ให้ตัดปลีทิ้ง หรือจะตัดปลีหลังจากปลีโผล่มาประมาณ 10-12 วันถ้าไม่มีการตัดปลีกล้วยทิ้งผลกล้วยจะเจริญเติบโตไม่เต็มที่
 
หลังจากตัดปลีประมาณ 90-110 วัน :
          กล้วยจะแก่พอดี สามารถสังเกตได้จากกล้วย หวีสุดท้ายจะเริ่มกลมสีที่ผลจางลงกว่าเดิม(สีเขียวอ่อน)ถ้าปล่อยให้กล้วยแก่คาต้นมากเกินไปจะสบกับปํญหาเรื่องเปลือกกล้วยที่แตกทำให้ผลผลิตเสียหาย

การตัดหน่อกล้วยสำหรับเลี้ยงไว้ในปีต่อไป
          หน่อกล้วยที่สมควรจะคัดไว้เป็นหน่อที่ให้ผลผลิตในปีต่อไปควรจะคัดหน่อกล้วยที่มีลักษณะ ดังนี้
          1. ควรเป็นหน่อใต้ดิน ลำต้นอวบอยู่ห่างจากโคนต้นแม่ประมาณ 10 นิ้ว
          2. ควรเหลือไว้ประมาณ 2 หน่อ ที่อยู่ตรงข้ามกัน
          3. ถ้าใช้ระยะปลูก 3 x 3 เมตร ควรคัดหน่อกล้วยอีกครั้งหนึ่งจาก 2 หน่อ ให้เหลือเพียงหน่อเดียวหรือเหลือไว้ไม่เกิน 2 หน่อ ซึ่งจะทำให้แปลงกล้วยทึบลำต้นจะสูงชะลูดและหักล้มได้ง่าย


ที่มา : www.rakbankerd.com

ภาพ : www.pritipbrand.com

ต้นรวงผึ้ง พรรณไม้หอมไทยแท้ประจำพระองค์ รัชกาลที่ 10





ต้นรวงผึ้ง
          มาทำความรู้จัก ต้นรวงผึ้ง ต้นไม้ไทยแท้ กลิ่นหอม ต้นไม้ประจำพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 กันค่ะ
 
          ต้นรวงผึ้ง ที่มีดอกสีเหลืองโดดเด่นและส่งกลิ่นหอม เป็นพรรณไม้ไทยแท้อันทรงคุณค่า เพราะเป็นต้นไม้ประจำพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาทุกคนไปทำความรู้จัก ต้นรวงผึ้ง ต้นไม้ประจำรัชกาลที่ 10 ให้มากขึ้น ทั้งวิธีปลูกต้นรวงผึ้งไปจนถึงสรรพคุณต้นรวงผึ้ง แล้วจะรู้ว่าต้นไม้ไทยต้นนี้น่าปลูกมาก ๆ เลยล่ะค่ะ 

1. ความสำคัญ
 
          ต้นรวงผึ้ง ถือว่าเป็นพรรณไม้อันทรงคุณค่าและมีเกียรติชนิดหนึ่ง ที่ถูกยกให้เป็นพรรณไม้ประจำ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 เนื่องจากดอกรวงผึ้งจะผลิดอกออกใบในช่วงวันพระบรมราชสมภพพอดี ส่วนสีเหลืองของดอกรวงผึ้งยังเป็นสีประจำวันพระบรมราชสมภพอีกด้วย นอกจากนี้พระองค์ยังทรงปลูกต้นรวงผึ้งไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่พระองค์เสด็จฯ ไปประกอบพระราชกรณียกิจ เพื่อพระราชทานไว้ให้เป็นตัวแทนแห่งพระองค์ท่านและเป็นสิริมงคลแก่ราษฎร
 
2. ลักษณะ
 
          โดยทั่วไปจะเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า “ต้นรวงผึ้ง” แต่ถ้าหากได้ยินคนเรียก ต้นน้ำผึ้ง ต้นสายน้ำผึ้ง หรือดอกน้ำผึ้ง ก็ไม่ต้องสงสัยไป เพราะชื่อเหล่านี้เป็นชื่อเรียกของคนท้องถิ่นที่มักได้ยินกันบ่อยในแถบกรุงเทพฯ และภาคเหนือ ต้นรวงผึ้ง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Yellow star และชื่อวิทยาศาสตร์คือ Schoutenia glomerata King subsp.peregrina (Craib) Roekm. 
          ต้นรวงผึ้งจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ทนแดดและชอบขึ้นในที่แล้ง ลำต้นแตกกิ่งต่ำ ลักษณะลำต้นเป็นทรงพุ่มมน ออกใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ด้านหน้าใบจะเป็นเขียวและหลังใบเป็นสีน้ำตาลนวล ดอกรวงผึ้งส่งกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน และมีสีเหลืองอร่ามดูโดดเด่น ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยง 5 แฉกติดกับโคนกลีบและเป็นฐานรองกระจุกเกสรตัวผู้ ไม่มีกลีบดอก ดอกจะบานได้นาน 7-10 วัน ส่วนผลของต้นรวงผึ้งมีลักษณะเป็นทรงกลม ผลแห้ง และมีขน 
ต้นรวงผึ้ง
3. วิธีปลูกและวิธีการดูแล
 
          วิธีขยายพันธุ์ต้นรวงผึ้งที่นิยมมากที่สุดคือ การตอนกิ่ง ด้วยการควั่นกิ่งและลอกเปลือกออก จากนั้นนำดินเหนียวและกาบมะพร้าวชุบน้ำมาหุ้มแผลเอาไว้ ห่อด้วยแผ่นพลาสติกและมัดเชือกปิดมิด ดูแลรดน้ำตามปกติ อาจจะใช้ฮอร์โมนเร่งรากด้วยก็ได้ รอรากงอกออกมาภายใน 2-3 วัน จึงค่อยตัดไปปลูกลงในหลุมดินร่วน เพื่อให้ได้ผลดีแนะนำให้ปลูกในที่กลางแจ้ง เนื่องจากเป็นพืชที่ชอบแดดและทนแล้งได้ดี รดน้ำปานกลาง และปลูกไว้บริเวณแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน ต้นก็จะเจริญเติบโตออกดอกสวยงาม
 
4. ประโยชน์
 
          แม้จะไม่ใช่ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แต่ก็ช่วยบังแดดและให้ร่มเงาได้ มีรูปลักษณ์และสีสันสวยงาม มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เพื่อปรับบรรยากาศให้สดชื่น นอกจากนี้ยังเป็นไม้มงคลที่เหมาะจะนำมาปลูกประดับสวนภายในบ้านและตามสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะบ้านที่มีคนธาตุไฟ ต้นรวงผึ้งก็จะช่วยเสริมความเป็นสิริมงคลให้มากยิ่งขึ้น
          
          หากใครที่กำลังมองหาไม้ยืนต้นหรือไม้ประดับเอาไว้จัดสวนอยู่ ก็ลองนำต้นไม้มงคลอย่างต้นรวงผึ้งไปพิจารณากันดูนะคะ รับรองได้เลยว่าทั้งรูปทรง กลิ่นหอม และความเป็นมงคลของต้นไม้ชนิดนี้ จะทำให้สวนของคุณดูพิเศษขึ้นมาทันที
ติดตามข่าว รัชกาลที่ 10 ทั้งหมด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก royalparkrajapruekKu และ Thaitreeflowers

วิธีปลูกดาวเรืองขาย กำไรเป็นแสน!!





ปลูกดาวเรืองขาย กำไรเป็นแสน!!

วิธีปลูกดาวเรือง
1.เตรียมกระถางใส่ดินลงไป และรดน้ำให้ดินชุ่มชื่นทิ้งไว้ 1 คืน
2.นำต้นกล้าที่มีอายุ 7-10 วัน ( นับจากวันเพาะเมล็ด ) โดยแยกต้นกล้าให้มีวัสดุเพาะ หรือดินหุ้มติดรากมาด้วย เพื่อป้องกันรากกระทบกระเทือน นำมาปลูกในแต่ละหลุม แต่ละกระถาง ที่เตรียมไว้ รดน้ำให้ชุ่ม
3. รดน้ำดาวเรืองอย่างต่อเนื่อง  โดยสัปดาห์แรกควรรดน้ำเช้า – เย็น จากนั้น สัปดาห์ต่อไป รดน้ำเช้า หรือเย็นอย่างเดียวได้ค่ะ
4.เมื่อดาวเรืองอายุ 15 – 25 วัน ใส่ปุ๋ยลงไป และก็รอให้ต้นดาวเรืองออกดอก ก็สามารถตัดดอกไปใส่ในกระถางประดับบ้านให้สวยงามได้แล้วค่ะ
การปลูกต้นดาวเรืองนอกจากจะเสริมมงคลให้บ้านแล้ว ยังสามารถนำดอกมาประดับตกแต่งบ้านได้อีกด้วยนะคะ แถมได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ได้อีกด้วยค่ะ
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : https://decor.mthai.com/garden/21988.html